ถัวถั่วมะแฮะ

ห่างไปนาน เรื่องถั่วๆที่จะเอามาบอก มาเล่ากันครับ วันนี้มีถั่วล้มลุกอีกต้นที่มีอายุยืนจัง อยู่ได้ทั้ง 2-3 ปี ถั่วที่ว่าก็คือถั่วมะแฮะ และแน่นอนครับ ใบมีประโยชน์สามารถทำปุ๋ยได้ ถั่วมะแฮะเป็นที่รู้จักดีตั้งแต่เหนือจรดอีสาน เค้านิยมปลูกเสริมแปลงผลไม้ เพื่อให้ใบร่วงหล่นมาเป็นปุ๋ยบนหน้าดินแก้พืช ด้วยที่ว่าถั่วมะแฮะมีรากแก้วที่ลึกและรากแขนงที่มาก จึงสามารถหาอาหารได้ดี ทนต่อแล้ว แต่ไม่ชอบน้ำขัง

นอกจากใบของถั่วมะแฮะที่นำมาทำปุ๋ยแล้ว อีกส่วนคือผักที่นิยมนำมารับทานฝักอ่อน จะสามารถทานได้ทั้งผัก ไม่ต้องแกะ รสมันปนฝาด แต่ถ้าฝักแก่หน่อย จะนิยมแกะทานเมล็ดครับ ในเมล็ดสด จะมีโปรตีนสูงมากถึง 70% แต่ถ้าเมล็ดแห้งจะแหลือแค่ 19% หน่อยๆ นอกจากนั้นก็ยังมีสารอาหารเพียบ ทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินเอ แถมยังมีไขมันต่ำ

เรียกได้ว่าให้ประโยชน์เหลือหลายครับ ที่สวนมี 2 ต้น ตอนนี้เริ่มสูงจะ 2 เมตรแล้ว ผมก็เลยทอนลงมาบ้าง แล้วเอามาตากแดด รวมกับหญ้าสับ ตอนรูดๆใบก็ไปเจอยอดอ่อนเข้า ก็เลยคิดว่า “น่าจะกินได้” ว่าแล้วก็ใส่ปากเคี้ยว ไม่ค่อยจะดีดังคาด ใบเค้านุ่มมือนะแต่ไม่นุ่มคอ มีรสฝาด และเฝื่อน แถวคันๆที่ลำคอ นี่ขนาดลองแค่ครึ่งใบนะเนี่ย สรุปคือทานได้แต่ฝัก อย่าคิดจะไปแย่งพืชเรากินยอดซะนะครับ ^_^

10 Responses to “ถัวถั่วมะแฮะ”

  1. เล็ก Says:

    ถั่วมะแฮะกับถั่วแระตัวเดียวกันรึเปล่าคะ

    อร่อยมั้ยคะ

  2. นายเกษตรดีดี.คอม Says:

    ถูกครับ ชื่อ ถั่วแฮ มะแฮะ ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วแรด มะแฮะต้น ถั่วแฮ่

    ขอโทษด้วยครับ ลืมถ่ายภาพมาให้ดู เดี๋ยวหาชื่อลิ้งค์ให้ครับ

  3. punni Says:

    ……ก็เลยคิดว่า “น่าจะกินได้” ว่าแล้วก็ใส่ปากเคี้ยว …..55 ไม่อยากจะนึกภาพ อิอิ

  4. นายเกษตรดีดี.คอม Says:

    55+ อยากมีกระจกไว้ดูหน้าตัวเองตอนนั้นเหมือนกันครับ

  5. kam Says:

    เป็นคนหนึ่งที่ชอบกินถั่วชนิดนี้ค่ะ..รสชาดอาจฝาดนิด ๆ แต่ชอบค่ะ…..ตอนนี้ก็เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ให้ นศ.ป.โทให้เอาให้ นศ. ป.ตรีปลูกตอนเขาเรียนวิชาหลักการเพาะปลูกพืชค่ะ

  6. อ้าย Says:

    อยากได้ต้นมาปลูกครับ จะเอามาทำเป็นยาสมุนไพร จะหาซื้อได้ที่ไหนครับ ในกรุงเทพมีมั้ยครับ รบกวนด้วยครับ

    hehaparty_4@hotmail.com

  7. ร้านเงินทองเพิ่มพูน Says:

    ขายเมล็ดพันธุ์ถั่วมะแฮะ ของปีนี้จำนวนจำกัด สนใจติดต่อ 087-1474831,087-1395083,คุณเอ

  8. ร้านเงินทองเพิ่มพูน Says:

    จำหน่ายยางพันธุ์ใหม่ RRIM3001 โตไว น้ำยางมากกว่าพันธุ์เดิม มีทั้ิงตาเขียว ยางฉัตร ชำถุง บัดดิ้งตาเขียวและฉัตร นำเข้าจากมาเลเซีย ของแท้แน่นอน ไม่ปลอมปน หมกเม็ดแน่นอน ต้องการของแท้รีบติดต่อเราด่วน ส่งทั่วประเทศ ติดต่อ 087-147-4831,087-139-5083

  9. นก Says:

    ขายใบอบแห้ง ถั่วมะแฮะชงเป็นชา ถั่วแระหรือถั่วมะแฮะ ปลีกและส่ง 087-1474831คุณเอ
    สารสำคัญที่พบ ได้แก่ pectin ซึ่งเป็นใยพืช ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง, acoradiene, allantoin, α-amyrin, arabinitol, benzoic acid, butyrospermol, caffeic acid, cajaflavanone, cajasoflavone, cajaminose, cajanin, cajanol, cajanone, cajanus cajan lectin, cajanus cajan phyyoalexin 3, campesterol, para-coumaric acid, cycloartanol, 24-methylene, cycloartenol, cyclobranol, daidzein, daucosterol, erremophilene, erythritol, euphol, ferulic acid, flavone, iso: 2-5-7, trihydroxy: 7-O-β-D-glucoside, formononetin, galactinol, genistein, gentisic acid, glucitol, glycerol, α-guaiene, β-guaiene, n-hentriacontane, α-himachalene, hydrocyanic acid, inositol,myo, laccerol, lanosterol, 24-dihydro, 24-methylene, longistylin A, longistylin C, lupeol, mannitol, naringenin-4-7-dimethyl ether, parkeol, pinostrobin, protocatechuic acid, simiarenol, β-sitosterol, stigmasterol, stilbene, tannin, taraxerol, threitol, tirucallol, uronic acid, L-valine, vanillic acid,vitexin, wighteone,iso, xylitol, xylos[2]
    ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเลือด ต้านไวรัส ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ (เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดความเป็นปกติทางโภชนาการต่าง ๆ) ยับยั้งการย่อยโปรตีน ยับยั้ง txpsin และ chymotrypsin[2],[3]
    จาการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า เมื่อฉีดสารสกัดจากเมล็ดถั่วแระต้นด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร หนูสามารถทนยาได้ถึง 1 กรัมต่อกิโลกรัม[2]
    เมื่อปี ค.ศ.1970 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษาผลในการลดไขมันของถั่วแระ โดยทำการทดลองในหนูทดลองที่ให้อาหารไขมันสูงจนเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ใช้ถั่วนิดต่าง ๆ ให้หนูทดลองกิน ได้แก่ ถั่วแระ ถั่วดำ ถั่วแดง และถั่วเขียว นาน 3 เดือน ผลการทดลองพบว่าถั่วทั้ง 4 ชนิด มีผลทำให้ไขมันในเลือด, ระดับ phospholipid ในตับ และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง[2]
    เมื่อปี ค.ศ.1973 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้พืชสมุนไพรหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจาเมล็ดถั่วแระ สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้[3]
    เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของถั่วแระต้น โดยพบว่าในถั่วแระต้นมีสาร stibenes โดยใช้ทำการศึกษาดลองในหนู (Kunming mice) ใช้ระยะเวลาการทดลอง 4 สัปดาห์ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่ 4 ให้สาร simvastatin ผลการทดลองพบว่าหนูกลุ่มที่ 2 มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง 31.4% ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 22.7% โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.01[2]
    ประโยชน์ของถั่วแระต้น
    นอกจากจะนำมาใช้ในทางยาแล้ว ยังสามารถนำฝักมาตากแห้งแกะเอาเมล็ดออกมาใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือนำไปขายเป็นสินค้าได้อีกด้วย[1]
    ชาวปะหล่อง ขมุ และกะเหรี่ยงเชียงใหม่ จะนำผลถั่วแระมารับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก[5]
    ชาวปะหล่องถือว่ายอดอ่อนและดอกถั่วแระเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ใช้ปะพรมน้ำมนต์หรือใช้ในพิธีปลูกเสาเอกของบ้าน[5]
    ถั่วแระเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงครั่งได้ดี (ทั่วไปแล้วจะใช้สะแกนา ปันแก่ พุทราป่า ลิ้นจี่ และไทร ในการเลี้ยงครั่ง) เนื่องต้นถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งแห้งแล้ง ปลูกง่าย ทนแล้ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี หลังจากปลูกแล้วจะให้ผลผลิตประมาณ 6-9 เดือน อีกทั้งเมล็ดถั่วแระยังให้โปรตีนสูง เจริญเติบโตแข่งกับพืชชนิดอื่นได้ดี และยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินได้อีกด้วย[6]
    นอกจากนี้ยังมีการปลูกถั่วแระเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยลดการพังทลายของหน้าดินจากน้ำฝน ซึ่งถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งที่ราบและที่ลาดชัน[6]
    คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วแระ ต่อ 100 กรัม
    พลังงาน 343 กิโลแคลอรี่
    คาร์โบไฮเดรต 62.78 กรัม
    ใยอาหาร 15 กรัม
    ไขมัน 1.49 กรัม
    โปรตีน 22.7 กรัม
    วิตามินบี1 0.643 มิลลิกรัม (56%)
    วิตามินบี2 0.187 มิลลิกรัม (16%)
    วิตามินบี3 2.965 มิลลิกรัม (20%)
    วิตามินบี5 1.266 มิลลิกรัม (25%)
    วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม (22%)
    วิตามินบี9 456 ไมโครกรัม (114%)
    วิตามินซี 0 มิลลิกรัม (0%)
    วิตามินอี 0 มิลลิกรัม (0%)
    วิตามินเค 0 ไมโครกรัม (0%)
    แคลเซียม 130 มิลลิกรัม (13%)
    ธาตุเหล็ก 5.23 มิลลิกรัม (40%)
    แมกนีเซียม 183 มิลลิกรัม (52%)
    แมงกานีส 1.791 มิลลิกรัม (85%)
    ฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม (52%)
    โพแทสเซียม 1,392 มิลลิกรัม (30%)
    โซเดียม 17 มิลลิกรัม (1%)
    สังกะสี 2.76 มิลลิกรัม (29%)
    % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database


ส่งความเห็นที่ เล็ก ยกเลิกการตอบ